การจัดการเรียนรู้
|
นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
|
1.ความหมายของการเรียนรู้
(5)
|
|
2.ความสำคัญของการเรียนรู้
(5)
|
|
3.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้
(5)
|
|
4.ทฤษฎีการเรียนรู้
|
ทฤษฎีการเรียนรู้
(30)
|
5.รูปแบบการจัดการเรียนรู้
(20)
|
|
6.เทคนิค
วิทยาการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และคิดแก้ปัญหา
|
|
7.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (10)
|
|
8.การเรียนรู้แบบเรียนรวม (10)
|
|
9.การใช้และการผลิตสื่อ
|
สื่อต่าง
ๆ ทางคอมพิวเตอร์และการจัดทำสื่อการเรียนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(30)
|
10.การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
|
นวัตกรรม เทคโนโลยี (20)
|
11.การประเมินผลการเรียนรู้
(10)
|
|
12.ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(5)
|
|
13.ทดลองจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง
(10)
|
|
สอบ (20)
|
สอบ (20)
|
100
|
100
|
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558
หัวข้อและคะแนน
รูปแบบการสอน
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม
(QuestioningMethod) นาย วิโรจน์ เจ๊ะมิน 005
2. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (QuestioningMethod) นวพล พันธุกุลรัตน 068
3. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPAMODEL) นางสาวศรีสอางค์ จันคนา รหัส 006
4. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) นางสาวขวัญจิรา งามทวี รหัส 013
5. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นlฐาน นางสาวจุฑาภรณ์ งามสะพรั่ง รหัส 014
6. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (DiscoveryMethod) นางสาวชนัญชิดา ศรีสุข รหัส 015
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย(Induction Method) นางสาวนิตยา ปรุงผล รหัส 017
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา นางสาวอารียา แทบทาม รหัส020
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล นายวริทธิ์นันท์ หนูกระจ่าง รหัส 067
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ นางสาวนุสรา ขันตะ รหัส 021
11. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Process) นางสาวเกตษรี สิทธิประเสริฐ รหัส 022
12. วิธีสอนแบบนิรนัย(Deductive Method) น.ส. สุวนันท์ มูลสาร รหัส 016
13. วิธีสอนแบบอภิปราย(DiscussionMethod) นางสาวสุปราณี จันทร์ประกอบ รหัส 024
14. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน น.ส.สาริณี วงหาริมาตย์ รหัส 029
15. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน(CommitteeWork Method) นายธีรภัทร สร้อยคำ 030
16. วิธีสอนแบบหน่วย(UnitTeaching Method) น.ส.โยธกา กองขันธ์ 040
17. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (RolePlaying Method) น.ส.อารียา กระแสจันทร์ 031
18. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์(ScientificMethod) นาย สายชล เเก้วพุฒตาล รหัส 034
19. วิธีสอนแบบบรรยาย(LectureMethod) นางสาวนิรมล มาตรภูมี รหัส 038
20. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (LaboratoryMethod) นางสาวศิวพร พุกพิลา 041
21. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง(SelfStudy Method) นายธนพล ดวงเงิน รหัส 042
22. วิธีสอนตามคาดหวัง(ExpectationMethod) น.ส.นุชนภา พันธ์ดนตรี 043
23. วิธีสอนแบบโซเครติส(SocretisMethod) นาย วัชรินทร์ วงศ์ขัน รหัส 063
24. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส( Methodof Sense Realism) นางสาว วรรณา สิทธิวงศ์ษะ 065
25. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ น.ส.จันทร์ฉาย เทิมกระโทก 064
26. วิธีสอนแบบดัลตัน (DaltonLaboratory Plan) นายพิริยะ ปิยะรัตน์ รหัส 062
27. วิธีสอนแบบวินเนทก้า(TheWinnetka Plan) น.ส.เยาวลักษณ์ สุภาพ รหัส 069
28. วิธีสอนแบบนิเทศ(SupervisedPlan) นางสาวณัฐณิชา แถมยิ้ม รหัส 054
29. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง(TutorialMethod) น.ส.ปัทมปาณี ทับทิมศรี รหัส 058
30. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ(Audio-Visual Meterial of Instruction Method) นายวีรวัฒน์ วรรณโภชน์ รหัส 056
31. วิธีสอนแบบอริยสัจ นางสาวอิงฟ้า อุตรวิเศษ รหัส 049
32. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง นางสาวนารีนาถ รหัส 051
33. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท(ExplicitTeaching Method) นางสาวพีรดา อยู่นัด 048
34. วิธีสอนแบบสาธิต นายธีรเมธ เทพสุริยวงศ์ 052
35. วิธีการสอนแบบทดลอง น.ส.วราภรณ์ แดงปุ่น รหัส 053
36. การสอนแบบบูรณาการ (IntegrationInstruction) นางสาววิจิตรา เสียงใส รหัส 050
37. กลวิธีการสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ น.ส.ปทุมฤดี ขอหมั่นกลาง รหัส 047
38. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T) นางสาวกฤติยา โสภิณ 045
39. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. ) นายพิพัฒพงษ์ ทองมาก รหัส 044
40. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD ) นางสาวธวัลหทัย ยับ รหัส 025
41. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์( Jigsaw) นางสาวปัฐมาอร นาคกุล รหัส 026
42. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ(InstructionalModels of Cooperative Learning) นางสาว พรสิณี มาณะน้อย รหัส 027
43. การสอนแบบเอกัตภาพ( IndividualizedInstruction ) นางสาวนฤมล บุญลาภ รหัส 066
44. วิธีธรรมชาติ( NaturalMethod ) นางสาวรสจรินทร์ รุ่งเรือง รหัส 028
45. วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ 4 MAT นางสาวภัทรพรรณ ศรีรักษา รหัส 010
46. การจัดการเรียนการสอนแบบTGT(Teams – Games -Tournaments)น.ส. ซารีนา เสาโป๊ะ 007
47. วิธีสอนโดยการใช้สื่อ (Media) นางสาวรัชดา จันทสนธ์ รหัส 008
48. รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya นางสาวจันจิรา ไอยศูรย์ รหัส 002
49. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ต นางสาวดวงใจ เจิมแหล่ รหัส 059
2. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (QuestioningMethod) นวพล พันธุกุลรัตน 068
3. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPAMODEL) นางสาวศรีสอางค์ จันคนา รหัส 006
4. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) นางสาวขวัญจิรา งามทวี รหัส 013
5. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นlฐาน นางสาวจุฑาภรณ์ งามสะพรั่ง รหัส 014
6. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (DiscoveryMethod) นางสาวชนัญชิดา ศรีสุข รหัส 015
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย(Induction Method) นางสาวนิตยา ปรุงผล รหัส 017
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา นางสาวอารียา แทบทาม รหัส020
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล นายวริทธิ์นันท์ หนูกระจ่าง รหัส 067
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ นางสาวนุสรา ขันตะ รหัส 021
11. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Process) นางสาวเกตษรี สิทธิประเสริฐ รหัส 022
12. วิธีสอนแบบนิรนัย(Deductive Method) น.ส. สุวนันท์ มูลสาร รหัส 016
13. วิธีสอนแบบอภิปราย(DiscussionMethod) นางสาวสุปราณี จันทร์ประกอบ รหัส 024
14. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน น.ส.สาริณี วงหาริมาตย์ รหัส 029
15. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน(CommitteeWork Method) นายธีรภัทร สร้อยคำ 030
16. วิธีสอนแบบหน่วย(UnitTeaching Method) น.ส.โยธกา กองขันธ์ 040
17. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (RolePlaying Method) น.ส.อารียา กระแสจันทร์ 031
18. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์(ScientificMethod) นาย สายชล เเก้วพุฒตาล รหัส 034
19. วิธีสอนแบบบรรยาย(LectureMethod) นางสาวนิรมล มาตรภูมี รหัส 038
20. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (LaboratoryMethod) นางสาวศิวพร พุกพิลา 041
21. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง(SelfStudy Method) นายธนพล ดวงเงิน รหัส 042
22. วิธีสอนตามคาดหวัง(ExpectationMethod) น.ส.นุชนภา พันธ์ดนตรี 043
23. วิธีสอนแบบโซเครติส(SocretisMethod) นาย วัชรินทร์ วงศ์ขัน รหัส 063
24. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส( Methodof Sense Realism) นางสาว วรรณา สิทธิวงศ์ษะ 065
25. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ น.ส.จันทร์ฉาย เทิมกระโทก 064
26. วิธีสอนแบบดัลตัน (DaltonLaboratory Plan) นายพิริยะ ปิยะรัตน์ รหัส 062
27. วิธีสอนแบบวินเนทก้า(TheWinnetka Plan) น.ส.เยาวลักษณ์ สุภาพ รหัส 069
28. วิธีสอนแบบนิเทศ(SupervisedPlan) นางสาวณัฐณิชา แถมยิ้ม รหัส 054
29. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง(TutorialMethod) น.ส.ปัทมปาณี ทับทิมศรี รหัส 058
30. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ(Audio-Visual Meterial of Instruction Method) นายวีรวัฒน์ วรรณโภชน์ รหัส 056
31. วิธีสอนแบบอริยสัจ นางสาวอิงฟ้า อุตรวิเศษ รหัส 049
32. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง นางสาวนารีนาถ รหัส 051
33. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท(ExplicitTeaching Method) นางสาวพีรดา อยู่นัด 048
34. วิธีสอนแบบสาธิต นายธีรเมธ เทพสุริยวงศ์ 052
35. วิธีการสอนแบบทดลอง น.ส.วราภรณ์ แดงปุ่น รหัส 053
36. การสอนแบบบูรณาการ (IntegrationInstruction) นางสาววิจิตรา เสียงใส รหัส 050
37. กลวิธีการสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ น.ส.ปทุมฤดี ขอหมั่นกลาง รหัส 047
38. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T) นางสาวกฤติยา โสภิณ 045
39. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. ) นายพิพัฒพงษ์ ทองมาก รหัส 044
40. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD ) นางสาวธวัลหทัย ยับ รหัส 025
41. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์( Jigsaw) นางสาวปัฐมาอร นาคกุล รหัส 026
42. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ(InstructionalModels of Cooperative Learning) นางสาว พรสิณี มาณะน้อย รหัส 027
43. การสอนแบบเอกัตภาพ( IndividualizedInstruction ) นางสาวนฤมล บุญลาภ รหัส 066
44. วิธีธรรมชาติ( NaturalMethod ) นางสาวรสจรินทร์ รุ่งเรือง รหัส 028
45. วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ 4 MAT นางสาวภัทรพรรณ ศรีรักษา รหัส 010
46. การจัดการเรียนการสอนแบบTGT(Teams – Games -Tournaments)น.ส. ซารีนา เสาโป๊ะ 007
47. วิธีสอนโดยการใช้สื่อ (Media) นางสาวรัชดา จันทสนธ์ รหัส 008
48. รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya นางสาวจันจิรา ไอยศูรย์ รหัส 002
49. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ต นางสาวดวงใจ เจิมแหล่ รหัส 059
ทฤษฎีการเรียนรู้
แนวความคิดในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาแต่ในอดีต ซึ่งต่างก็ได้แสดงทัศนะกันไว้อย่างหลากหลาย แนวคิดเหล่านั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย รวมทั้งได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องของการจัดการศึกษาและการสอน
การศึกษาแนวคิดในอดีต
นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการจัดการศึกษาและเกิดแนวความคิดใหม่ๆ
แล้วยังเป็นการทบทวนภูมิปัญญาของนักคิดในอดีตซึ่งอาจจะตกหล่นสูญหายหรือเสื่อมความนิยมไปด้วยกาลและสมัยแต่อาจยังทรงคุณค่ามหาศาลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ส่วนหลักการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้สามารถแบ่งออกเป็น 3
กลุ่ม
ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
3. ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่
20
1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยาก
ๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส (Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย (Didactic Method)
เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ
เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม
(neutral - passive)
การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5
และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
20
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ
3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์
(Thorndike)
มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมาก ที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง
มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี
ดังนี้ 1)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical
Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 2)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical
Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า
การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s
Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 4)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant
Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ
ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull ’s
Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง
การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
-
ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
- ทฤษฎีสนาม (Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน
การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใด
ๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2
ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ
ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal
Learning) ของออซูเบล(Ausubel)
เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์
หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ
และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีคือ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก
การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ
ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น
บริบูรณ์ด้วยความรัก
มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน
จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ ความรู้มีหลายประเภท
บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9
ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ (Informing the learning)
ขั้นที่ 3
กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (Stimulating recall of
prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the
performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้
(Enhancing retention and transfer)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย
3.1 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(Information Processing Theory)
เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส
(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
3.2 ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลง
ได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ
ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง
และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
อีกวิธีหนึ่ง
3.3 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction)
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
3.4 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน
ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน
ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน
มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)